ท่าจบสวิง ( Finish )

ท่าจบสวิง ( Finish ) ที่มาจาก http://www.golfprojack.com
 
        เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสวิงกอล์ฟ  และสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของสวิงในช็อทนั่นๆ  ได้เป็นอย่างดี  เพราะถ้าเราสามารถจบสวิงได้ดี  ยืนได้อย่างมั่นคง รักษาสมดุลได้  เกือบจะ 100% ช็อทๆนั่นจะเป็นช็อทที่ดี  
        ลักษณะของท่าจบที่ดี.
       1. สามารถยืนจบได้นิ่ง  รักษาสมดุลได้
       2. น้ำหนักของการยืนอยู่บนขาซ้ายเกือบหมด
       3. ลำตัวหันเข้าหาเป้าหมาย.





การส่งต่อพลังงาน ( Follow through )

การส่งต่อพลังงาน ( Follow through ) ที่มาจาก http://www.golfprojack.com


       Follow through ก็มีความสำคัญมากอีกจุดหนึ่ง   นักกอล์ฟสมัครเล่นจำนวนมากทำจุดนี้ได้ไม่ดีนัก  คือหลังจากการตีลูกแล้ว  กลับหยุดและดึงไม้กอล์ฟเข้าหาตัว   ผลก็คือทำให้ตีไม่ได้ระยะ  และวิถีของลูกกอล์ฟกส่วนมากก็จะเลี้ยวขวาออกไปจากเป้าหมาย
       จุดสำคัญของการ Follow through ก็คือ  หลังจากการ Impactแล้ว  ต้องทำการดันส่งมือและแขนออกไปให้สุดสวิงเสียก่อน  โดยเฉพาะมือขวาและแขนขวาที่ทำหน้าที่เฆี่ยน ออกแรงในการตี  ท่อนแขนขวาต้องเหยียดตรงสุดหัวไหล่  มือขวาพลิกไปทับมือซ้าย   และที่ห้ามลืมเด็ดขาดก็คือการยันของเท้าซ้ายในจังหวะการ Follow through



การเริ่มเข้าตีลูก ( Down Swing )

การเริ่มเข้าตีลูก ( Down Swing )  ที่มาจาก http://www.golfprojack.com

 
       เป็นจุดที่เริ่มลดไม้ลงมาเพื่อเริ่มการถ่ายทอดพลังงานเข้าสู่การปะทะลูก   ลำดับการทำงานในขั้นตอนนี้อันดับแรกเลยก็คือ  ต้องเปิดสะโพกซ้ายให้เริ่มหมุนไปด้านหลังก่อน  เสมือนเป็นการเปิดประตูต้อนรับพลังงานทั้งหลายเข้าสู่การปะทะลูกกอล์ฟ   แล้วขบวนการของการถ่ายน้ำหนักจากซีกขวาไปยังซีกซ้ายจึงจะเกิดขึ้นได้อยาง สมบูรณ์
        อีกหนึ่งจุดที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ เช่นกัน ก็คือจุดของการหักข้อมือ ในตำแหน่ง Top Swing เมื่อเริ่มทำการ Down Swing ลงมา จะต้องรักษามุมนั้นไว้ก่อน  ห้ามรีบคลายออก  วิธีรักษามุมของข้อมือนี้ไว้ก็คือ  เวลา Down Swing ลงมา  ให้มีความรู้สึกว่าปลายส้นของกริพเป็นตัวนำลงมาก่อน
        เราจะมาเริ่มคลายมุมของข้อมือก่อนเข้าปะทะลูก ( Impact ) เมื่อตำแหน่งของมือลดลงมาก่อนถึงลูกกอล์ฟ 3-4 ฟุต เท่านั้น  แล้วจึงค่อยสบัดพลิกข้อมือเฆี่ยนเข้าไปที่ลูกกอล์ฟ  หรือทางภาษากอล์ฟเราเรียกว่า " Snap " นั่นเอง
             



                 ภาพ แสดงถึงการรักษามุมของข้อมือขณะที่ทำการ Down Swing   ถ้าคลายข้อมือเร็วก็จะทำให้มีระยะในการสะบัดข้อมือน้อย หรือการ Snapping นั่นเอง  ทำให้ขาดพลังในการเข้าตีลูก (ภาพเล็กซ้าย)     ที่ถูกต้องคือต้องรักษามุมของข้อมือไว้ให้นานที่สุด  โดยการดึงให้ปลายส้นกริพนำลงมาตอน Down Swing   ซึ่งจะทำให้การทำ Snapping ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีพลังในการตี  นักกอล์ฟที่ตีไกล  ต่างก็มี Snapping ที่สมบูรณ์แบบด้วยกันทั้งสิ้น.

จุดสูงสุดของวงสวิง( Top Swing )

จุดสูงสุดของวงสวิง( Top Swing ) ที่มาจาก http://www.golfprojack.com
 
      เป็นจุดที่สำคัญมากจุดหนึ่งของวงสวิง    นักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จในกีฬากอล์ฟ  ส่วนมากจะต้องมี Top Swing ที่ดีมีประสิทธิภาพด้วยกันทุกคน  เพราะจะเป็นจุดในการสะสมพลังงาน  และกลไกในการส่งถ่ายพลังงานทั้งหมดเข้าสู่การปะทะลูก
      จุดที่สำคัญมากๆ ของตำแหน่ง Top Swing   ที่ควรตรวจเช็คบ่อยๆ
      1.ข้อศอกขวาต้องอยู่ต่ำกว่าหัวไหล่  และชี้ลงพื้น
      2.ท่อนแขนซ้ายต้องเหยียดตรง  และหลังมือซ้ายต้องขนานกับแนวของท่อนแขน
      3.น้ำหนักตัวต้องถูกถ่ายมายังขาขวาเกือบหมด




ครึ่งวงสวิง ( Half Swing )

ครึ่งวงสวิง ( Half Swing )
 
     เป็น ตำแหน่งที่ไม้กอล์ฟถูกยกขึ้นมาจนก้านไม้ขนานกับพื้น  ปลายของกริพที่เราเอามือจับอยู่จะชี้ไปที่เป้าหมาย   หน้าไม้จะปิดเล็กน้อย    หน้าและศีรษะนิ่ง  สายตายังมองอยู่ที่ลูกกอล์ฟตลอดเวลา   การถ่ายน้ำหนักก็จะถ่ายมาสู่ขาขวาประมาณ 70 % แล้ว

           ขั้นตอนการทำ Cocking & Hinging
           หลังจากการทำ Back Swing ถึงตำแหน่ง Haft Swing แล้ว   ขั้นตอนต่อไปก็คือการหักข้อมือขึ้น  แล้วยกหมุนสู่ตำแหน่ง Top Swing   
        ในการหักข้อมือขึ้นจะมีด้วยกัน 2 ลักษณะคือ
      1.การหักข้อมือซ้าย ( Cocking ) เป็นการหักข้อมือซ้ายเพื่อทำให้ท่อนแขนซ้ายทำมุมฉากกับก้านไม้กอล์ฟ  ซึ่งหลังมือซ้ายจะขนานกันท่อนแขนซ้าย  จึงจะเป็นมุมที่ถูกต้อง
      2.การพับข้อมือขวา ( Hinging ) หลังมือขวาจะทำมุมกับท่อนแขนขวาเล็กน้อย

ที่มาจาก http://www.golfprojack.com

เป้าหมายในการสวิง

เป้าหมายในการสวิง
1.           สวิงให้โดนลูก  (Strike)
2.           สวิงให้ไกลและได้ระยะตามที่ต้องการ (Distance)
3.      สวิงให้ตรงทิศทางที่ต้องการ (Direction)
4.      สวิงให้สม่ำเสมอ (Consistency)

1.  สวิงให้โดนลูก  (Strike)
          -  ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
          -  การสั่งงานของสมองใหญ่สู่กล้ามเนื้อ
          -  สมาธิ

2.  สวิงให้ไกลและได้ระยะตามที่ต้องการ (Distance)
          -  ความเร็วของหัวไม้    (Club head speed)
                   (Speed factors)
                   -  ความแข็งแรงของร่างกาย
                                -  ยืดหยุ่น,การอ่อนตัวของร่างกาย
                                - เทคนิคที่ถูกต้อง
                                -  ความยาวของคาน
                                -  ความสัมพันธ์ของระบบประสาทสู่กล้ามเนื้อ
         
          -   การปะทะกลางหน้าไม้  (Center ness of contact)
          -  มุมเข้าปะทะ  (Angle of approach)
          -  การถ่ายเทน้ำหนัก (Energy transfer)

3.      สวิงให้ตรงทิศทางที่ต้องการ (Direction)
          -  ระนาบหรือเส้นทางการสวิง (Path of swing)
                -   ตำแหน่งของหน้าไม้ขณะปะทะลูก  (Clubface position)


4.      สวิงให้สม่ำเสมอ (Consistency)
          - ความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ของกล้ามเนื้อทุกส่วนในการสวิง
                -  ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติในการสวิง
                -  ความรู้สึกผ่อนคลาย



องค์ประกอบของการเล่นกอล์ฟ

1. การตี                                          25%
2. การเล่นลูกสั้น                               25%
3. สภาพจิตใจและการวางแผนการเล่น    35%
4. สภาพร่างกาย                               15%


 เทคนิคเสริมเพิ่มพลัง
-         รักษาเบสิคพื้นฐาน
-         ความยืดหยุ่น
-         การถ่ายน้ำหนัก
-         การทำให้ร่างกายคล้ายหุ่นยนต์แต่มีชีวิต  คือความคงที่และสม่ำเสมอ
-         การบิดเพื่อสร้างเกลียว  ช่วงล่างนิ่งบิดเฉพาะหัวไหล่
-         การใช้ขาซ้ายเป็นหลักในการหมุนกลับ
-         แรงปฏิกิริยาและแรงกิริยา  คือต้านแรงย้อนกลับขณะอิมแพ็ค  ( Follow )
-         การมองวัตถุ  (สมาธิ)  ขณะอิมแพ็ค หน้าไม้ปะทะลูก
-         การหาจุดยืนของการกระทำที่มั่นใจ   แน่วแน่และยึดมั่นไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย
-         การถ่ายเทพลังงานจากตัวเราผ่านหัวไม้ไปยังลูกกอล์ฟ


การแบ่งช่วงทักษะกีฬากอล์ฟ

1. ช่วงท่าเตรียมความพร้อม        ADDRESS

2. ช่วงสร้างแรง                            BACK SWING
3. ช่วงเกิดแรงกระทำให้เคลื่อนที่     IMPACT
4. ช่วงติดตามการเคลื่อนที่             FOLLOW THROUGH


การเช็ควงสวิงด้วยตนเอง
      
        - Take Away     จากจุดเริ่มต้นจนก้านไม้ขนานกับพื้น  เมื่อมองจากด้านข้างหัวไม้จะทับกับมือพอดี  และหน้าไม้ทำมุมเล็กน้อยไม่ตั้งฉาก
        - Top Swing     ข้อมือไม่พับงอ  และหน้าไม้อยู่แนวเดียวกับหลังมือ  แขนซ้ายตึง  มือขวาคล้ายแบกถาด
        - Down Swing  ก้านไม้กลับมาขนานกับพื้น  หน้าไม้ตั้งฉากกับพื้น  ศอกขวาชิดลำตัว
        - Follow Through   ความรู้สึกให้เหมือนปล่อยไม้ให้หลุดมือไป  ส่งให้สุดทั้งสองแขน
        - Finish            เท้าซ้ายยันเหยียดตรง  น้ำหนักอยู่ที่เท้าซ้าย
        - Tempo   จังหวะของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน  แต่ควรรักษาระดับให้สม่ำเสมอ

Low  Of  Ball  Flight กฎการเดินทางของลูกกอล์ฟ
     1.  Clubhead Path    แนวการเดินทางของหน้าไม้สู่จุดปะทะลูก
        2.  Clubhead Speed  ความเร็วในการเคลื่อนที่ของหัวไม้
        3.  Clubhead Position       ตำแหน่งของหน้าไม้เมื่อปะทะลูก
        4.  Angle of Apporach      มุมองศาที่หน้าไม้ปะทะลูก
        5.  Point of Contact  จุดปะทะที่บริเวณหน้าไม้

 ที่มาจาก http://www.golfprojack.com

ลูกเล่นกอล์ฟกับชัยชนะในกีฬากอล์ฟ

ลูกเล่นกอล์ฟกับชัยชนะในกีฬากอล์ฟ

                        กอล์ฟเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่นิยมให้บุตรหลานได้เข้ามาสัมผัสได้เล่นกีฬากอล์ฟมากยิ่งขึ้นและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว      ในฐานะที่ตนเองได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในสังคมหรือวงการของนักกอล์ฟเยาวชนมากว่า 10 ปี        อีกทั้งได้สัมผัสกับกีฬาด้วยตนเองกว่า 20 ปีเช่นกัน       ได้เห็นถึงธรรมชาติของกีฬากอล์ฟซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองของนักกอล์ฟเยาวชนควรจะได้รับรู้ว่ากีฬากอล์ฟมีบุคลิกและธรรมชาติเป็นอย่างไร     เพื่อจะได้เข้าใจและช่วยเหลือลูกๆ ที่เล่นกอล์ฟได้

                        กอล์ฟเป็นกีฬาที่ส่งเสริมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ    มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสังคมที่ดี ในด้านร่างกายกอล์ฟก็คือกีฬาอีกประเภทหนึ่งซึ่งทำให้ร่างกายแข็งแรง     การเล่นกอล์ฟ 18 หลุมต้องใช้เวลาประมาณ  5 ชั่วโมง       ระยะทางในการเดินเล่นกอล์ฟ 18 หลุมประมาณ 8-9 กิโลเมตร        การซ้อมตีลูกกอล์ฟก็ต้องใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหวและรับแรงปะทะระหว่างไม้กอล์ฟกับลูกกอล์ฟ     ซึ่งมีแรงปะทะสูงมาก เหนื่อยไม่แพ้กีฬาประเภทอื่น  
  
                            
                          

            ในด้านของจิตใจ กอล์ฟจะสอนให้รู้ถึงความยอมรับในความเป็นจริง ยอมรับในข้อผิดพลาดของตนเอง     มีปรัชญาของกอล์ฟอยู่หนึ่งประโยค กอล์ฟ คือเกมส์ของการผิดพลาด ผู้ชนะคือผู้ที่เล่นผิดพลาดน้อยที่สุด     นักกอล์ฟที่เก่งจะต้องรู้ถึงข้อผิดพลาดของตนเอง    ข้อด้อยของตนเอง     แล้วนำกลับไปฝึกซ้อมแก้ไข จนกระทั่งสามารถทำได้จนเกิดความมั่นใจในการเล่นช็อตนั้นๆ      เด็กๆ ที่มาเริ่มเล่นใหม่ก็ต้องฝึกซ้อมให้มากเพราะจะมีข้อด้อยและข้อผิดพลาดมากมายไปหมด      แต่เมื่อได้รับการฝึกซ้อมที่ถูกต้องก็จะพัฒนาฝีมือตนเองขึ้นเป็นลำดับ

                        อย่างที่บอกไว้ กอล์ฟ เป็นเกมส์ของการผิดพลาด ดังนั้นเมื่อเกิดการผิดพลาดสิ่งที่ตามมาก็คือ อารมณ์ซึ่งถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์โดยทั่วไป      ความโมโหก็จะทำให้ขาดสติ    อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยผู้ใหญ่เองก็เป็น     และบางคนเป็นมากกว่าเด็กๆ ด้วยซ้ำไป  เด็กที่จะเล่นกอล์ฟได้ดีก็ต้องรู้จักยอมรับความเป็นจริง     ยอมรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น    โดยตนเองนั่นแหละที่เป็นคนทำเอง    ตีเสียไปเอง ต้องลืม...สิ่งที่ผ่านไปแล้วเรียกกลับคืนมาแก้ไขไม่ได้    ทำได้แค่ว่าพยายามอย่าให้มันเกิดขึ้นอีก หรือให้มันเกิดขึ้นน้อยที่สุด สิ่งที่จะทำได้ก็คือตั้งใจในช็อตที่กำลังเล่นอยู่   ทำช็อตที่อยู่ในปัจจุบันให้ดีที่สุด

                         เด็กที่เพิ่งเริ่มเล่นกอล์ฟใหม่จำเป็นต้องหาครูสอน    เพื่อให้เกิดพื้นฐานที่ถูกต้อง ตีกอล์ฟอย่างถูกวิธี     จนกระทั่งออกรอบเล่นกอล์ฟได้แล้วจึงค่อยเรียนรู้ถึงการเล่นกอล์ฟในสนาม     ซึ่งก็มีเรื่องที่ต้องเรียนรู้จนอาจเรียกได้ว่า    เรียนรู้กอล์ฟนี่มันไม่มีอันจบสิ้นเสียที เพราะปัญหามันจะวนเวียนเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา     ครูหรือผู้แนะนำที่ดีจึงมีความจำเป็นมากสำหรับนักกอล์ฟที่ต้องการความสำเร็จในกีฬากอล์ฟ


                       
  
เด็กนักกอล์ฟเยาวชนที่เก่งจึงต้องมีอารมณ์ที่ดี     ควบคุมจังหวะ สมาธิของตนเองได้ดี      ซึ่งต้องอาศัยการฝึกซ้อมทางด้านจิตใจเป็นอย่างต่อเนื่อง      ค่อยเป็นค่อยไปเพราะมันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก   และเป็นสิ่งที่กีฬากอล์ฟมอบให้ในเรื่องของการพัฒนาทางด้านจิตใจของเด็กๆ

                        ในด้านของสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี   เนื่องจากกีฬากอล์ฟต้องอาศัยการฝึกซ้อมที่ใช้เวลามาก รวมทั้งการเล่น 18 หลุม ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง    เด็กๆ จึงไม่มีเวลาที่จะไปทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงในทางที่ไม่ดี    มั่วสุมกันเสพยาเสพติด   เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์หรือเล่นเกมส์ใน internet อย่างหามรุ่งหามค่ำ     เวลาจะหมดไปกับการเล่นกีฬากอล์ฟซึ่งถือว่าการเล่นกอล์ฟเป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ กิจกรรมหนึ่ง

การพัฒนาในกีฬากอล์ฟ.
    
                        แน่นอนว่ากีฬากอล์ฟเมื่อเข้าแข่งขันจะตัดสินกันด้วยสกอร์    ผู้ที่สกอร์ได้ต่ำกว่าจะเป็นผู้ชนะและจะดูว่าลูกของเรามีการพัฒนาก็จะต้องดูจากสกอร์ที่ดีขึ้น   สามารถทำสกอร์ที่ต่ำลง...นั่นคือการพัฒนา    ผมอยากให้ผู้ปกครองทั้งหลายเข้าใจถึงธรรมชาติของกีฬากอล์ฟเสียก่อน   ยิ่ง ผู้ปกครอง, คุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ได้เล่นกอล์ฟด้วยแล้วจำเป็นอย่างยิ่งเลยครับต้องรู้ไว้ ว่าธรรมชาติของกีฬากอล์ฟเป็นอย่างไร เริ่มเลยนะครับ....

                      

                        กีฬากอล์ฟเป็นกีฬาที่ไม่ติดตัว  ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน   ยิ่งถ้าเป็นนักกีฬาประเภทอื่นๆ แล้วมาเล่นกอล์ฟจะเข้าใจง่ายมาก    ถ้าท่านเล่นกีฬาอื่นๆ มาแล้ว และทำได้ดี เล่นเก่งมาก่อน    เช่น กีฬาฟุตบอล วอล์เลย์บอล บาสเก็ตบอล เทนนิส ปิงปองและอื่นๆ อีกมากมาย     ความเก่งของท่านมันจะติดตัวท่านไปจนวันตาย     แม้จะไม่ทำการฝึกซ้อมมาเลยหรือหยุดเล่นไปเป็นเวลานานปีหรือสองปี      เมื่อกลับมาอีกท่านก็ยังคงเล่นได้เก่งเช่นเดิมหลังจากที่ฝึกซ้อมเพียงเล็กน้อย

                        แต่กีฬากอล์ฟไม่เป็นเช่นนั้นครับ     ถ้าเล่นเก่งแล้วไม่ฝึกซ้อมหรือหยุดเล่นไปนานๆ ท่านจะทำไม่ได้เลย    ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่เกือบหมดความเก่งของท่านจึงจะกลับมาและใช้เวลาซ้อมนานมากกว่าจะเก่งได้เช่นเดิม      จึงจะเห็นได้ว่านักกอล์ฟจะต้องฝึกซ้อมอยู่เสมอ      โดยเฉพาะนักกอล์ฟอาชีพต้องฝึกซ้อมอย่างหนักวันละ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน ไม่เว้นแม้แต่ Tiger Woods นักกอล์ฟอันดับหนึ่งของโลก       ก็ยังต้องฝึกซ้อมอย่างหนักทุกวัน ธุรกิจของสนามฝึกซ้อมกอล์ฟจึงเป็นธุรกิจที่สามารถทำรายได้ได้เป็นอย่างดี     เพราะเป็นความจำเป็นของนักกอล์ฟที่จะต้องทำการฝึกซ้อมอยู่ตลอดเวลา

                     

       คงจะพอเข้าใจถึงคำว่า กีฬากอล์ฟ เป็นกีฬาที่ไม่ติดตัว แล้วนะครับ    คราวนี้มาถึงเรื่องการพัฒนาในการเล่นกอล์ฟ      ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูสอนกอล์ฟที่ดูแลบุตรหลานของท่านอยู่       ครูกอล์ฟที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะในการเล่นให้ดีขึ้นและลดข้อด้อยให้น้อยลงที่สุด พัฒนาเกมส์การเล่นให้ดีขึ้น      ซึ่งก็จะดูได้จากการทำคะแนนในการออกรอบได้เป็นอย่างดี ถ้าลูกของเราคะแนนดีขึ้นเรื่อยๆ     ก็แสดงว่าลูกเราเล่นเก่งขึ้นเรื่อยๆ ครับ โชคดีที่ลูกของเราตั้งใจและได้ครูสอนกอล์ฟที่ดีคอยช่วยแนะนำ

                        แต่ก็มีคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของนักกอล์ฟเยาวชนหลายท่าน    มองการพัฒนาของลูกหลานผิดไป      กลับไปมองว่าลูกเราเข้าแข่งขันต้องได้รับชัยชนะทุกครั้งไป ชัยชนะและการพัฒนาของลูกวัดจากการได้ถ้วยรางวัล เหรียญรางวัล     ซึ่งมันเป็นภาพลวงตาและเป็นแนวความคิดที่ผิดๆ ครับ

                        

                        ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่และแท้จริงคือ    การเห็นว่าลูกเรามีกิจกรรมที่ดีๆ ทำ    ลูกเราได้ใช้ทักษะทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ต่อสู้กับเกมส์กีฬากอล์ฟ    ตามกฎและกติกา   การพัฒนาของลูกน่าจะมองที่การทำสกอร์      ถ้าลูกเราทำสกอร์ได้ดีและพัฒนามากกว่าการแข่งขันที่ผ่านมา    น่าจะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่กว่าและถูกแนวทางมากกว่า      แล้วเมื่อถึงเวลาของมันเจ้าถ้วยรางวัล เหรียญรางวัล   ก็จะตามมาเองครับ

          ผู้ปกครองบางคนพอลูกแข่งขันแล้วไม่ได้รับชัยชนะก็จะต่อว่าลูกด่าลูก   จนกลายเป็นความกดดันส่งมายังลูกของตนเอง       จนทำให้เด็กไม่มีความสุขในการเล่นกอล์ฟ หรือแม้กระทั่งเวลาออกรอบเล่นกอล์ฟก็จะตั้งคะแนนให้กับลูก      และเมื่อลูกทำไม่ได้ก็ดุด่าต่อว่า ซึ่งจะเป็นผลเสียอย่างมากสำหรับเด็ก        พอเด็กออกรอบแล้วทำสกอร์ได้ไม่ดีก็จะเกิดอาการหวาดกลัว กดดัน    บางครั้งถึงกับต้องโกหกหรือโกงสกอร์    เพื่อจะได้ไม่ถูกพ่อแม่ดุด่าว่าเอา   และจะยิ่งเลวร้ายเข้าไปใหญ่หากพฤติกรรมอย่างนี้เกิดติดตัวเด็กไปจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่    ซึ่งน่าสงสารมากครับ     มันนรกดีๆ นี่เองสำหรับลูกหลานของ

       

          การที่ลูกๆได้มีกิจกรรมที่ดีอย่างกีฬากอล์ฟติดตัวไปจนเติบใหญ่   ได้เห็นลูกเราตื่นขึ้นแต่เช้า  ไปเดินเล่นกอล์ฟในสนามกว้าง  ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม   อากาศบริสุทธิ์  ได้ใช้ทักษะทั้งทางร่างกายและจิตใจ   รู้จักการแก้ไขปัญหาและการควบคุมอารมณ์    รับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกีฬากอล์ฟ   ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตที่จะต้องเติบใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต    มีสังคมเพื่อนฝูงที่ดี    นี่ต่างหาก...คือชัยชนะที่ถูกต้องและยิ่งใหญ่ของบุตรหลานของเรา   


                    ของให้ลูกของเราได้เล่นกอล์ฟอย่างมีความสุขเถอะครับ.

                                                โปรไอศูรย์  ศิริขันธ์ (แจ๊ค) ที่มาจาก http://www.golfprojack.com

ท่าการยืน ( Stance and Posture )

ท่าการยืน ( Stance and Posture )

 

   ท่าการยืนของนักกอล์ฟระดับโลก 
จะดูสวยงามและได้มาตราฐานเหมือนกันทุกคน


          ท่า การยืนในการตีกอล์ฟมีความสำคัญมาก เป็นเบสิคพื้นฐานที่นักกอล์ฟควรทำให้ถูกต้องเพราะมันจะมีผลต่อสวิงของท่าน ท่ายืนที่ดีจะทำให้ควบคุมแกนและถ่ายน้ำหนักได้ดีส่งผลถึงประสิทธิภาพของสวิง
          เรา มาศึกษากันเลยดีกว่านะครับ     ว่าการจัดท่ายืนที่ดีสำหรับการตีกอล์ฟมีอย่างไรบ้าง และลองเช็คดูซิว่าท่าการยืนของท่านถูกต้องแล้วหรือยัง

        1. การวางเท้า  ( Feet )   เริ่ม จากจุดล่างสุดของร่างกายกัน เท้าควรยืนห่างกันประมาณความกว้างของหัวไหล่ (ตีด้วยเหล็กกลาง )   ไม่แคบหรือกว้างเกินไปและแนวของเท้าทั้งสองควรจะขนานกับแนวของเป้าหมาย แนวของการวางเท้าจะมีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ

1.1. ยืนเป็นแนวตรง(square) แนวของเท้าทั้งสองจะขนานกับแนวของเป้าหมาย

1.2. ยืนปิด(closed) เท้าซ้ายจะอยู่สูงกว่าเท้าขวา แนวของเท้าทั้งสองจะชี้ไปทางขวาของเป้าหมายส่งผลให้วิถีของลูกจะพุ่งจากขวาไปซ้าย

1.3. ยืนเปิด(open) เท้าซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าเท้าขวา แนวขอบเท้าทั้งสองจะชี้ไปทางซ้ายของเป้าหมายส่งผลให้วิถีของลูกจะพุ่งจากซ้ายไปขวา

     ดังนั้นควรยืนให้เป็นแนวตรง(square)กับเป้าหมายเพราะจะทำให้วิถีของลูกพุ่งตรงเข้าสู่เป้าหมายได้ง่าย
        เคล็ดลับ
       - ปลายของเท้าซ้ายควรทำมุมเปิดประมาณ 30 องศา เพื่อทำให้เวลาที่หน้าไม้ปะทะกับลูก(impact)จะ ได้ยันและรักษาการทรงตัวของร่างกายได้ดี  ส่วนปลายเท้าขวาเปิดเพียง 10 องศา  เพราะถ้าเปิดมากไปจะทำให้ลำตัวโยกได้ง่ายเวลาทำ Back Swing

       - น้ำหนัก ของการยืนควรให้น้ำหนักการยืนค่อนไปอยู่ที่ส้นเท้าตลอดสวิงเพราะจะทำให้ควบ คุมการทรงตัวของร่างกายได้ดี มั่นคง สามารถยืนจบในท่าจบได้อย่างสมดุลย์


        2. หัวเข่า  ( Knees )   ที่ หัวเข่าเป็นจุดพับจุดหนึ่งของร่างกาย   สำหรับท่ายืนในการตีกอล์ฟจุดพับที่หัวเข่าหรือการงอเข่าจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กับการย่อเข่าลงจะนั่งเก้าอี้แต่ไม่มากนัก  และโน้มลำตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย
        เคล็ดลับ.
       - ควร หนีบหัวเข่าเข้าหากันเล็กน้อย   เข่าทั้งสองข้างไม่ควรกางออก   การหนีบหัวเข่าเข้าหากันเล็กน้อยทำให้น้ำหนักของการยืนจะอยู่ที่ข้างเท้า ด้านในของเท้าทั้งสองข้าง   การยืนจะมั่นคงไม่โอนเอียงเวลาBack Swingจนถึงตำแหน่งTop Swingน้ำหนักยังอยู่ที่ข้างเท้าด้านในของเท้าขวาตลอดเวลา    และเข่าขวาก็จะถูกยึดไว้ทำให้สวิงมีความมั่นคงสูงตามไปด้วย

      - มุมของการงอเข่า จะคงที่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่การเริ่ม Back Swing จนถึงการ Impact

     3. ลำตัว  ( Body )   ท่า การยืนตีกอล์ฟมีจุดพับอีกจุดหนึ่งคือที่ลำตัว      แถวๆ รอยต่อระหว่างลำตัวและช่วงขา    จุดพับจะอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน      หรือถ้าเรายืนตรงแล้วยกเข่าขึ้นมาก็จะสังเกตุเห็นจุดพับได้เป็นอย่างดี การพับหรือการงอในจุดนี้ทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และในการพับนี้ลำตัวต้องตรง หลังต้องตรง ไม่โค้งงอ

       4. แขน  ( Arms )  เมื่อ เกิดการพับขึ้น 2 จุดคือที่หัวเข่ากับลำตัวแล้ว แขนทั้งสองก็ให้ปล่อยทิ้งแขนลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก แล้วจึงทำการจับกริฟในตำแหน่งที่แขนถูกปล่อยทิ้งลงมานั่นเอง

       5. มือ  ( Hands )  ตำแหน่งของมือในการจับกริฟให้ตรงกับตำแหน่งหัวใจ    หรืออยู่บริเวณหน้าขาด้านซ้ายและอยู่ห่างจากลำตัวประมาณ 1 ฝ่ามือ
       เคล็ดลับ.
      - ตำแหน่งของมือที่ถูกต้องให้เช็คดูจากปลายกริฟ   เมื่อจับกริฟและตำแหน่งของมือที่ถูกต้องปลายกริฟจะชี้อยู่ในแนวเดียวกับสายเข็มขัดของเรา

       6. หัวไหล่  ( Shoulders )  หัวไหล่ด้านขวาจะต่ำกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย  ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ  อันเนื่องมาจากการที่เราจับกริพแล้วมือขวาอยู่ด้านล่าง  จึงดึงให้หัวไหล่ขวาต่ำลงไปด้วย  และแนวของหัวไหล่เมื่อมองจากด้านข้าง  จะเลยปลายเท้ามาเล็กน้อย (ในแนวดิ่ง)

       7. ศีรษะ  ( Head )   ศีรษะต้องอยู่เป็นแนวเดียวกันกับแนวกระดูกสันหลัง  ไม่ก้มหน้า

     ทั้งหมดนี้คือตำแหน่งของร่างกายที่ถูกต้องสำหรับท่าการยืนตีกอล์ฟ ( Stance and Posture )  ท่านนักกอล์ฟสามารถที่จะตรวจเช็คได้ด้วยตัวเอง  จะทำให้ท่านมีวงสวิงที่สวยงามและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ขอให้มีความสุขในการเล่นกอล์ฟครับ

                                  โปรแจ๊ค.


   







 
ที่มาจาก http://www.golfprojack.com