การวิเคราะห์วงสวิง
The Model of Golf Swing
ขั้นตอนของวงสวิงกอล์ฟ
1. ท่าการยืน,การจรดไม้ ( Set up )
2. การลากไม้ ( Back Swing-Takeaway )
3. ตำแหน่งครึ่งวง ( Back Swing-Half Swing )
4. ตำแหน่งสูงสุดของวงสวิง ( Top Swing )
5. ตำแหน่งเริ่มการเข้าตีลูก ( Down Swing )
6. ตำแหน่งจุดตีลูก,ปะทะลูก ( Impact )
7. ตำแหน่งการส่งถ่ายพลัง ( Follow through )
8. ตำแหน่งของท่าจบของวงสวิง ( Finish )
เรามาเริ่มวิเคราะห์วงสวิงตามขั้นตอน โดยมีรูปภาพประกอบและคำอธิบายแต่ละขั้นตอนกันเลยครับ...
1. ท่าการยืน,การจรดไม้ ( Set up )
ท่า
การยืนในการตีกอล์ฟมีความสำคัญมาก
เป็นเบสิคพื้นฐานที่นักกอล์ฟควรทำให้ถูกต้องเพราะมันจะมีผลต่อสวิงของท่าน
ท่ายืนที่ดีจะทำให้ควบคุมแกนและถ่ายน้ำหนักได้ดีส่งผลถึงประสิทธิภาพของสวิง
เรา
มาศึกษากันเลยดีกว่านะครับ
ว่าการจัดท่ายืนที่ดีสำหรับการตีกอล์ฟมีอย่างไรบ้าง
และลองเช็คดูซิว่าท่าการยืนของท่านถูกต้องแล้วหรือยัง
( Feet ) เริ่ม
จากจุดล่างสุดของร่างกายกัน เท้าควรยืนห่างกันประมาณความกว้างของหัวไหล่
(ตีด้วยเหล็กกลาง )
ไม่แคบหรือกว้างเกินไปและแนวของเท้าทั้งสองควรจะขนานกับแนวของเป้าหมาย
แนวของการวางเท้าจะมีด้วยกัน 3 ลักษณะ คือ
1.1. ยืนเป็นแนวตรง(square) แนวของเท้าทั้งสองจะขนานกับแนวของเป้าหมาย
1.2. ยืนปิด(closed) เท้าซ้ายจะอยู่สูงกว่าเท้าขวา แนวของเท้าทั้งสองจะชี้ไปทางขวาของเป้าหมายส่งผลให้วิถีของลูกจะพุ่งจากขวาไปซ้าย
1.3. ยืนเปิด(open) เท้าซ้ายจะอยู่ต่ำกว่าเท้าขวา แนวขอบเท้าทั้งสองจะชี้ไปทางซ้ายของเป้าหมายส่งผลให้วิถีของลูกจะพุ่งจากซ้ายไปขวา
ดังนั้นควรยืนให้เป็นแนวตรง(square)กับเป้าหมายเพราะจะทำให้วิถีของลูกพุ่งตรงเข้าสู่เป้าหมายได้ง่าย
เคล็ดลับ
- ปลายของเท้าซ้ายควรทำมุมเปิดประมาณ 30 องศา เพื่อทำให้เวลาที่หน้าไม้ปะทะกับลูก(impact)จะ
ได้ยันและรักษาการทรงตัวของร่างกายได้ดี ส่วนปลายเท้าขวาเปิดเพียง 10
องศา เพราะถ้าเปิดมากไปจะทำให้ลำตัวโยกได้ง่ายเวลาทำ Back Swing
- น้ำหนัก
ของการยืนควรให้น้ำหนักการยืนค่อนไปอยู่ที่ส้นเท้าตลอดสวิงเพราะจะทำให้ควบ
คุมการทรงตัวของร่างกายได้ดี มั่นคง สามารถยืนจบในท่าจบได้อย่างสมดุลย์
( Knees ) ที่
หัวเข่าเป็นจุดพับจุดหนึ่งของร่างกาย
สำหรับท่ายืนในการตีกอล์ฟจุดพับที่หัวเข่าหรือการงอเข่าจะเป็นลักษณะคล้ายๆ
กับการย่อเข่าลงจะนั่งเก้าอี้แต่ไม่มากนัก และโน้มลำตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย
เคล็ดลับ.
- ควร
หนีบเข้าหากันเล็กน้อย เข่าทั้งสองข้างไม่ควรกางออก
การหนีบเข้าหากันเล็กน้อยทำให้น้ำหนักของการยืนจะอยู่ที่ข้างเท้าด้านในของ
เท้าทั้งสองข้าง การยืนจะมั่นคงไม่โอนเอียงเวลาBack Swingจนถึงตำแหน่งTop Swingน้ำหนักยังอยู่ที่ข้างเท้าด้านในของเท้าขวาตลอดเวลา และเข่าขวาก็จะถูกยึดไว้ทำให้สวิงมีความมั่นคงสูงตามไปด้วย
- มุมของการงอเข่า จะคงที่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่การเริ่ม Back Swing จนถึงการ Impact
( Body ) ท่า
การยืนตีกอล์ฟมีจุดพับอีกจุดหนึ่งคือที่ลำตัว แถวๆ
รอยต่อระหว่างลำตัวและช่วงขา จุดพับจะอยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน
หรือถ้าเรายืนตรงแล้วยกเข่าขึ้นมาก็จะสังเกตุเห็นจุดพับได้เป็นอย่างดี
การพับหรือการงอในจุดนี้ทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
และในการพับนี้ลำตัวต้องตรง หลังต้องตรง ไม่โค้งงอ
( Arms ) เมื่อ
เกิดการพับขึ้น 2 จุดคือที่หัวเข่ากับลำตัวแล้ว
แขนทั้งสองก็ให้ปล่อยทิ้งแขนลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก
แล้วจึงทำการจับกริฟในตำแหน่งที่แขนถูกปล่อยทิ้งลงมานั่นเอง
( Hands ) ตำแหน่งของมือในการจับกริฟให้ตรงกับตำแหน่งหัวใจ หรืออยู่บริเวณหน้าขาด้านซ้ายและอยู่ห่างจากลำตัวประมาณ 1 ฝ่ามือ
เคล็ดลับ.
- ตำแหน่งของมือที่ถูกต้องให้เช็คดูจากปลายกริฟ เมื่อจับกริฟและตำแหน่งของมือที่ถูกต้องปลายกริฟจะชี้อยู่ในแนวเดียวกับสายเข็มขัดของเรา
( Shoulders ) หัวไหล่ด้านขวาจะต่ำกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการที่เราจับกริพแล้วมือขวาอยู่ด้านล่าง จึงดึงให้หัวไหล่ขวาต่ำลงไปด้วย และแนวของหัวไหล่เมื่อมองจากด้านข้าง จะเลยปลายเท้ามาเล็กน้อย (ในแนวดิ่ง)
( Head ) ศีรษะต้องอยู่เป็นแนวเดียวกันกับแนวกระดูกสันหลัง ไม่ก้มหน้า
ทั้งหมดนี้คือตำแหน่งของร่างกายที่ถูกต้องสำหรับท่าการยืนตีกอล์ฟ ( Stance
and Posture ) ท่านนักกอล์ฟสามารถที่จะตรวจเช็คได้ด้วยตัวเอง
จะทำให้ท่านมีวงสวิงที่สวยงามและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอให้มีความสุขในการเล่นกอล์ฟครับ
ท่าการยืนของนักกอล์ฟระดับโลก
จะเห็นได้ว่าสวยงามและได้มาตราฐานเหมือนกันทุกคน...
|
ที่มาจาก http://www.golfprojack.com